มันมาอีกแล้ว ร่างพรบ.ยาที่(ต้อง)ปรับครั้งใหญ่จากปี 2510

เกี่ยวกับประเด็นร้อนๆที่กลับมาอีกครั้งจากที่มีการคัดค้านกันครั้งใหญ่เมื่อประมาณปี 2557 ที่ผ่านมา เรื่องความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนพรบ.ยา ที่ท่านผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมีความเห็นว่า “ล้าสมัย” ซะจริง อันเนื่องมาจาก พรบ.ยา นี้ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2510 ถึงแม้จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกันมา 5 ฉบับแล้วก็ตามที ก็ยังดูว่าไม่ทันกับยุคสมัย ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างต้องการสักที อาจเป็นเพราะมันคล้ายๆ minor change รถยนต์นั่นแหละ ถ้าไม่ปรับโครงสร้างตัวแม่ ถึงจะเปลี่ยนอย่างไรมันก็ไม่เกิดแรงกระเพื่อม

หลังการเคลื่อนไหวใหญ่ของกลุ่มเภสัชกรที่คัดค้านร่างพรบ.ยาเมื่อเกือบ 4 ปีที่แล้ว (ประเด็นใหญ่สุดที่ไม่เห็นด้วยคือ มีการระบุให้มีนิยามของ ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา) พวกเราก็กลับมาใช้ฉบับเดิมกันอย่างมีความสุขต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น 555 จวบจนเริ่มมีกระแสจากผู้ใหญ่(อีกแล้ว) ได้นำร่างพรบ.ยานี้กลับมาอีกครั้ง ด้วยเหตุผลคล้ายเดิม เพิ่มเติมคือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการพิจารณาอนุญาต

FDA_Secretary_Declare

ใครที่จำไม่ได้ว่าเมื่อปลายปี 57 เกิดการรวมตัวประท้วงอะไร อย่างไร ติดตามได้ทางลิ้งค์นี้ครับ

https://pantip.com/topic/32672918

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/610563

ครั้งนี้ยังไม่ทันจะได้ซ่องสุมรวมกลุ่มกัน ท่านจึงชิงประกาศ “ทามไลน์” เกี่ยวกับการชี้แจงพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนกันอย่างมากันเป็นชุดตามระยะเวลาดังนี้

TimelineHearing

อีกทั้งยังได้เปรยอีกว่า ความตั้งใจคือต้องการหาข้อสรุปให้เข้าใจกันเพื่อปรับแก้ พรบ. แต่หากสรุปไม่ได้ อาจต้องหาเวทีกลางเพื่อจัดหารืออีกครั้ง

รายละเอียดขอข้ามไปที่ข้อมูลล่าสุดในช่วงที่เขียนบล๊อคนี้เลยละกันนะ นั่นคือวันรับฟังที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข วันจันทร์ที่ 26/02/2561

หลังจากที่ทำการชี้แจง และรับฟังกันจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงนำไปเสนอ รมว. แล้วส่งต่อเสนอ ครม. อีกที เร็วๆฮับ… เดี๋ยวไม่ทัน แต่ระหว่างทางจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นกันซะหน่อยนะ แบบว่ามันเป็นไฟต์บังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77   ทีระบุว่าต้องรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยนะเออ

จากรายงานการประชุมรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขนั้น ระบุถึงความเห็น และข้อเสนอที่หลากหลายจากหลายภาคส่วน หลังจากที่อ่านๆดูมีประเด็นที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับร้านยาและเภสัชกรหลายข้อ เราเลยยกตัวอย่างบางประเด็นที่เราคิดว่าใกล้ตัว และสำคัญมากๆๆ

ร่าง พรบ.ยา ฉบับนี้มีแยกผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ อย่างชัดเจน

มีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการยาจากหลายองค์กร  ว่าควรลดคนจากภาครัฐ และเพิ่มบุคลากรของหน่วยงานตนเข้าไปเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ

มี พรบ.สมุนไพรแล้ว ทำใมยังต้องมีเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร และแพทย์แผนไทยใน พรบ.ยา อีก

มีความคลุมเครือในเรื่องของ คณะกรรมการเฉพาะ ว่าเป็นใคร ? อีกอย่างคำว่า ยาจำเป็นเฉพาะกรณี คือยาอะไรควรระบุ ?

มีความไม่เหมาะสมในมาตรา 6 (6) เพราะไม่ได้มีการระบุผู้มีอำนาจเหมือนใน พรบ.ยา 2510 ว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม หรือ สัตวแพทย์

ภาครัฐ เช่น GPO สภากาชาด ที่ถูกยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตผลิตยานั้น ไม่ควรมีข้อกำหนดนี้ ถามว่าขั้นตอนการผลิตแตกต่างกันอย่างไร เพราะการผลิตยาเพื่อการจำหน่ายควรมีมาตรฐานเดียวกันกับเอกชนที่ต้องขออนุญาตผลิต

คณะกรรมการยาไม่จำเป็นต้องมีอำนาจในเรื่องของการกำหนดวันหมดอายุยา เพราะยามี  Stability study ที่รายงานตอนขอขึ้นทะเบียนยาอยู่แล้ว

ขอให้เพิ่มนิยาม ยาที่ต้องจ่ายโดยเภสัชกร ด้วย เพราะเภสัชกรเป็นวิชาชีพที่เรียนเยอะสุด ความรู้เรื่องยาในทุกด้านมากที่สุด

มาตราที่ 22 ที่ยกเว้นหลายประเด็นนั้น โดยเฉพาะ  (2) (4) (5) นั้น ควรระบุให้มีเภสัชกรดูแลร่วมด้วยตามหลักมาตรฐานสากล

มีองค์กรหนึ่งให้ความเห็นว่าควรระบุเพิ่มว่า ผู้ดำเนินการควรปฏิบัติงานได้เพียงที่เดียว และสนับสนุนข้อที่ว่า ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการควรปฏิบัติงานได้หลายที่ตามที่ถูกระบุไว้แล้ว

ยกเลิกข้อความที่ว่าให้ ขย.2 อยู่ได้ อีกแค่ 7 ปี  เป็นอยู่ได้ตลอดชีวิต (ผู้รับอนุญาต) เพราะจะทำให้เดือดร้อนกันในวงกว้าง โดยเฉพาะผู้บริโภคที่จะเข้าถึงยาได้ยาก

คลินิคแพทย์ควรมีมาตรฐานเดียวกับที่โรงพยาบาลที่มีระบบการป้องกันความผิดพลาดเพื่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ คือมีเภสัชกรควบคุมการจ่ายยาด้วย

เพดานค่าธรรมเนียมขออนุญาตขายยา 10,000 บาทนั้นสูงเกินไป เห็นควรให้ลดเหลือ 2,000 บาทดีกว่าไหม

มีบทลงโทษที่มากถึง 84 มาตรา (เติม S ไม่ทันเลย) มีเยอะมากเกินไป ใน พรบ.ยา 2510 ก็มีบทลงโทษที่เพียงพอแล้ว แต่ควรไปเพิ่มโทษปรับกับ การโฆษณา ที่ผิดกฎหมายให้มากขึ้นดีกว่า

ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นที่เราพยายามย่อยให้เข้าใจง่าย ยังมีความเห็นส่วนตัวที่คุยกันในกลุ่มโซเชียลมากมาย ในไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น เรียกว่าสาธยายกัน 3 หน้าก็ไม่หมด 555

มีเอกสารข้อมูลอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่าง พรบ.ยา ฉบับนี้ และตารางเปรียบเทียบพรบ.เก่า และของใหม่ สามารถคลิกตามลิ้งตัวอักษรได้เลยฮับ

อ้อ..เกือบลืมบทสรุปต่อ คือที่ประชุมมีมติให้แสดงความเห็นเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์จนถึงวันที่ 5 มีนาคม พศ. 2561

รีบๆหน่อยน้าาา

HurryUp